เรือหลวงอ่างทอง

Navy24 เรียบเรียง

การจัดหาเรือหลวงอ่างทองเข้าประจำการ เป็นไปตามแผนพัฒนากองทัพในระยะ 9 ปีเพื่อทดแทนเรือยกพลขึ้นบกขนาดใหญ่ชุด เรือหลวงอ่างทอง (ลำเก่า) จำนวน 5 ลำ ที่ปลดระวางประจำการไปแล้วทั้งหมด โดยลำสุดท้ายคือ เรือหลวงพระทอง ที่ปลดระวางประจำการไปเมื่อวันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ.2551 

เรือหลวงอ่างทอง  ( HTMS Angthong 791) เป็นเรือยกพลขึ้นบกขนาดใหญ่ ประเภท เรือ LANDING PLATFORM DOCK (เรือ LPD) ต่อจาก อู่เรือบริษัท Singapore Technologies จำกัด สาธารณรัฐสิงคโปร์ โดยสร้างตามเรือต้นแบบชั้น ENDURANCE ของกองทัพเรือสิงคโปร์ เรือหลวงอ่างทองได้เดินทางถึงฐานทัพเรือที่สัตหีบ ในวันที่ 19 เมษายน พ.ศ.2555 ที่ผ่านมา พร้อมกับความสามารถล้นเหลือ นอกจากภารกิจทางการยกพลขึ้นบกแล้วยังเหมาะต่องานกู้ภัย -also suitable for rescue missions ต่อภัยพิบัติทางธรรมชาติที่มีโอกาสเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา ด้วยความจริงที่ว่าเรือบรรทุกเฮลิคอปเตอร์มุ่งใช้กู้ภัยเรือประมงในทะเล ในขณะที่เรือหลวงอ่างทองLPD สามารถ ทํางานได้ทั้งในทะเล ชายฝั่ง ในฝั่ง และบนฝั่งชายทะเลเรื่องนี้จึงดูเหมือนเรือหลวงอ่างทองจะเป็นพระเอกตัวจริง*

มีระวางขับน้ำปกติ 7,600 ตัน  มีความยาว 141 เมตร กว้าง 21 เมตร กินน้ำลึก 4.6 เมตร มีความสูงถึง 9 ชั้น ถ้าเทียบขนาดความใหญ่โตของ ร.ล.อ่างทอง มีความใหญ่เป็นอันดับสามรองจาก ร.ล สิมิลัน และ ร.ล จักรีนฤเบศร ปัจจุบันประจำการในกองทัพเรือ สังกัดกองเรือยกพลขึ้นบกและยุทธบริการ ซึ่งมีภารกิจในการช่วยเหลือประชาชน การบรรเทาสาธารณภัย ค้นหาและช่วยเหลือผู้ประสบภัยทางทะเล การปฏิบัติการสะเทินน้ำสะเทินบก และ การขนส่งลำเลียงทางทะเล เป็นเรือบัญชาการและฐานปฏิบัติการในทะเล

เรือหลวงอ่างทอง (หมายเลขประจำเรือ  791) เป็นเรือหลวงอ่างทองลำที่ 3 ของไทย เรือหลวงอ่างทองลำแรกนั้น เดิมทีคือเรือพระที่นั่งมหาจักรีลำที่สอง และเรือหลวงอ่างทองลำที่สอง (หมายเลขประจำเรือ 711) คือเรือ USS LST-924 ของกองทัพเรือสหรัฐอเมริกา**

ความจำเป็นในการจัดหาเรือหลวงอ่างทองเข้าประจำการ มีความเป็นมาจาก เหตุการณ์ธรณีพิบัติภัยคลื่นยักษ์สึนามิ รวมถึงภัยธรรมชาติต่างๆ ที่มีแนวโน้มที่จะทวีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้น กองทัพเรือซึ่งมีบทบาทสำคัญในการดำเนินการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยจะ ต้องสามารถให้ความช่วยเหลือได้อย่างทันท่วงที จึงต้องจำเป็นต้องดำรงความพร้อมทั้งบุคลากรและยุทโธปกรณ์

สึนามิเมื่อ ๒๖ ธันวาคม ๒๕๔๗ (ภาพจาก เพจ รวมพลคนรักทหารเรือ)

ในยามปกติ เรือหลวงอ่างทอง สามารปฏิบัติหน้าที่ช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติ การส่งอาหารและยาเวชภัณฑ์ทางอากาศ รวมถึงการช่วยเหลืออพยพประชาชนออกจากพื้นที่ภัยพิบัติจากฝั่งเข้ามาสู่อู่ลอยของเรือได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ ให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยได้อย่างทันท่วงที กล่าวได้ว่ามีส่วนสำคัญอย่างยิ่งในการเป็นทั้งฐานลอยน้ำและฐานบินเคลื่อนที่ สำหรับรับ-ส่ง ผู้ประสบภัยกลางทะเล รวมไปถึงเป็นโรงพยาบาลเคลื่อนที่สำหรับการปฐมพยาบาล และใช้ในการผ่าตัดรักษาผู้ป่วยหนักได้เป็นอย่างดี

เรือหลวงอ่างทอง เป็นเรือยกพลขึ้นบกขนาดใหญ่ประเภท LPD ในชั้น Endurance Class จึงมีคุณสมบัติเป็นเรือยกพลขึ้นบกขนาดใหญ่แบบอู่ลอย (Well Dock) และยังเป็นฐานบินลอยน้ำอีกด้วย สามารถให้เรือระบายพลขนาดต่างๆ รวมไปถึงยานจู่โจมสะเทินน้ำสะเทินบกหรือ ยาน AAVS ที่กองทัพเรือไทยมีเข้าประจำการ สามารถที่จะวิ่งเข้าไปในตัวเรือ หรืออู่ลอยได้โดยไม่ต้องไปจอดเทียบข้างๆ เรือ เพื่อความรวดเร็ว และลดอันตรายลงในช่วงปฏิบัติภารกิจยามที่มีคลื่นลมแรงได้อีกด้วย

นอกจากนี้ยังมีลานจอดเฮลิคอปเตอร์ได้ถึง 2 ลานรวมถึงมีโรงเก็บเฮลิคอปเตอร์ได้อีก 2 ลำ และมีความคงทนทะเลในระดับ Sea State 6 ซึ่งสามารถทนระดับความสูงของคลื่นได้ประมาณ 4-6 เมตร

ร.ล อ่างทอง ยังมีเรือระบายพลประจำเรือคือ เรือระบายพลขนาดเล็ก ยาว 13 เมตร น้ำหนักบรรทุกไม่น้อยกว่า 3.6 ตัน หรือบรรทุกได้ 36 คน ทำความเร็วสูงสุด มากกว่า 15 นอต จำนวน 2 ลำซึ่งติดตั้งอยู่บริเวณบนหลักเดวิทกราบซ้ายและขวาของเรือข้างละ 1 ลำ นอกจากนี้ยังได้จัดหา เรือระบายพลขนาดกลาง ยาว 23 เมตร น้ำหนักบรรทุกไม่น้อยกว่า 18 ตัน ความเร็วสูงสุดมากกว่า 12 นอต จำนวน 2 ลำ ไว้ประจำเรือด้วย

ในภารกิจป้องกันประเทศ เรือหลวงอ่างทอง มีหน้าทีสนับสนุนการยกพลขึ้นบกให้กับกำลังนาวิกโยธินในการเคลื่อนกำลังพลจาก ทะเลสู่ฝั่ง (โจมตีโฉบฉวย สะเทินน้ำสะเทินบก) การขนส่งลำเลียงทางทะเล รวมไปถึงการลำเลียงขนส่งทางอากาศด้วยอากาศยาน เพราะเรือลำนี้สามารถเป็นฐานบินลอยน้ำชั่วคราวได้ อีกทั้งยังเป็นเรือบัญชาการฐานปฏิบัติการในทะเล รวมถึงภารกิจการสนับสนุนการฝึกต่าง ๆรวมทั้งการลำเลียงระยะไกล

อีกทั้งในส่วนอู่ลอย ซึ่งเป็นพื้นที่ๆสามารถรับ-ปล่อยเรือระบายพลขนาดต่างๆหรือยานรบสะเทินน้ำ สะเทินบก แบบ AAVS เข้าออกโดยมี Stern Ramp หรือแลมป์ท้ายเรือสำหรับเปิด–ปิดในการรับ-ปล่อยเรือระบายพลหรือยานรบสะเทิน น้ำสะเทินบกไม่ว่าในขณะเรือแล่นอยู่หรือจอด  Stern Ramp จะมีความกว้าง 15.6 เมตร สูง 8 เมตร และถ้ายื่นเปิดออกจะยาว 7 เมตร เมื่อเปิดออกสามารถรับน้ำหนักได้ถึง 66 ตันและสามารถเชื่อมต่อกับเรือระบายพลขนาดใหญ่สามารถมีการขนถ่ายหรือลำเลียง ระหว่างเรือกับเรือในทะเลได้ด้วย

ในส่วนระบบขับเคลื่อน ใช้เครื่องยนต์ดีเซลขนาดใหญ่ ให้กำลังขับ 4,060 กิโลวัตต์จำนวน 2 เครื่อง และมีเครื่องขับกำเนิดไฟฟ้าดีเซล จำนวน 4 เครื่องเพื่อช่วยเครื่องกำเนิดไฟฟ้า ให้กำลังขับไฟฟ้าได้ 900 กิโลวัตต์อีก 4 เครื่อง สามารถทำความเร็วสูงสุดมากกว่า 17 น๊อต และมีระยะปฏิบัติการที่ความเร็ว 12 น๊อต มากกว่า 5,000 ไมล์ทะเล  สามารถปฏิบัติการในทะเลต่อเนื่องได้ไม่น้อยกว่า 45 วัน โดยไม่ต้องรับการส่งกำลังบำรุงเพิ่มเติม และมีเพลาใบจักร 2 เพลาแบบปรับมุมได้ นอกจากนี้ยังมีเครื่องผลักดันหัวเรือ

กล่าวได้ว่า เรือหลวงอ่างทอง เป็นเรือรบที่สามารถปฏิบัติภารกิจได้หลากหลายและมีความอ่อนตัวสูงอันจะเป็น กำลังสำคัญในการป้องกันประเทศ และ ที่สำคัญในปัจจุบันและในอนาคตภัยธรรมชาติต่างๆนับวันจะมีแนวโน้มที่จะทวี ความรุนแรงเพิ่มมากขึ้น ซึ่งเรือหลวงอ่างทอง มีคุณสมบัติพร้อมที่จะปฏิบัติหน้าที่สำคัญทั้งยามปกติและภาวะสงครามได้เป็น อย่างดี

**เรือหลวงอ่างทองลำปัจจุบัน เป็นเรือลำที่สาม ในประวัติศาสตร์ของราชนาวีไทย ที่ได้รับพระราชทานนามว่า เรือหลวงอ่างทอง โดยเรือหลวงอ่างทองลำแรกนั้น เดิมทีเป็นเรือพระที่นั่งชื่อ เรือพระที่นั่งมหาจักรี (ลำที่สอง) ในสมัยรัชกาลที่ 6 เป็นเรือประเภทเรือยอช์ต ขึ้นระวางประจำการเมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2461 ต่อมาในปี พ.ศ.2478 ได้ถูกปลดจากเรือพระที่นั่ง และได้นำมาใช้เป็นเรือพี่เลี้ยงเรือดำน้ำ จนกระทั่งในปี พ.ศ.2488 เรือหลวงอ่างทองลำแรกนี้ ได้ถูกเครื่องบิน B – 24 ทิ้งระเบิด และกระหน่ำยิงซ้ำด้วย ปืนกล เสียหายอย่างหนักที่อ่าวสัตหีบ พร้อมกับเรือหลวงอู่ทอง เรือหลวงท่าจีน และ เรือสุธาทิพย์ ทำให้ เรือหลวงอ่างทอง ลำแรกใช้การไม่ได้ ต้องปลดระวางประจำการในที่สุด ส่วนเรือหลวงอ่างทองลำที่สอง เป็นเรือประเภทเรือยกพลขึ้นบกขนาดใหญ่ หมายเลข 711 เดิมคือเรือ USS LST – 924 ของสหรัฐอเมริกา เป็นเรือที่อยู่ในชั้น Landing Ship Tank (LST) สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2487 และได้เข้าร่วมปฏิบัติการในสงครามโลกครั้งที่ 2 ทันที จนได้รับเหรียญกล้าหาญชั้น Four Battle Star และสหรัฐอเมริกาได้มอบให้กองทัพไทย ไว้ใช้ราชการในปี พ.ศ.2490 ซึ่งกองทัพเรือไทยก็ได้ใช้งานเรือลำนี้มาเป็นเวลายาวนานถึง 49 ปี จนปลดประจำการในปี พ.ศ.2549 สำหรับเรือหลวงอ่างทอง ลำที่สาม หรือลำปัจจุบัน เป็นเรือยกพลขึ้นบกขนาดใหญ่ หมายเลขประจำเรือคือ 791 เป็นประเภทเรือยกพลขึ้นบกขนาดใหญ่ชนิดที่มีอู่ลอยสำหรับเรือเล็กประจำเรือ อยู่ภายใน หรืออาจเรียกว่า Landing Platform Dock (LPD)

ข้อมูลอ้างอิง

*นาวิกกาสาระ 551 พลเรือโท พัน รักษ์แก้ว. นาวิกศาตร์. กันยายน 2555

**กองทัพเรือ/เรือหลวงอ่างทอง/นาวิกศาสตร์

Leave a Reply

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *